ชีวิตลมหายใจ คนปาเลสไตน์ใน “Gaza Strip” ท่ามกลางสมรภูมิเดือด

ผ่าชีวิตลมหายใจ ผู้คนชาวปาเลสไตน์ใน Gaza Strip ท่ามกลางสงครามเดือด สมรภูมิเลือด ดินแดนแห่งนี้กลาย “เป็นคุกกลางแจ้ง” ในพริบตา

การใช้ชีวิตอันสุดแสนยากลำบากยิ่งนับร้อยเท่าทวีคูณ   หากย้อนปูมหลังดินแดนสมรภูมิสงครามแห่งนี้มีที่มา ที่ไปอย่างไรบ้าง?   

1.ฉนวนกาซา หรือ Gaza Strip : 1 ใน 2 พื้นที่ขัดแย้ง

เป็นหนึ่งใน 2 พื้นที่ที่คนของรัฐปาเลสไตน์ (UN รับรองเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2012 โดยมี 130 ประเทศรับรอง แต่ ฝรั่งเศส อังกฤษ สหรัฐฯ ออสเตรเลีย แคนาดา เยอรมัน อิตาลี ญี่ปุ่น เม็กซิโก เนเธอร์แลนด์ เกาหลีใต้ สเปน และสวิตเซอร์แลนด์ไม่รับรอง) อาศัยอยู่ อีกที่คือ West Bank รวมถึง เยรูซาเล็มตะวันออก ปี 2564 มีประชากรรัฐปาเลสไตน์ 4.9 ล้านคน อาศัยอยู่ในกาซา 2.3 ล้านคน บางแหล่งบอกว่า 2.1 ล้านคน ที่เหลืออาศัยใน west bank

2.ประชากร : นับถือศาสนาอิสลามสุหนี่

ประชากรในเมืองกาซาซิตี้มีคนอาศัยมากสุดประมาณ 7 แสนคน เมืองอื่น เฉลี่ย 3-4 แสนคน ประชากรส่วนใหญ่อายุ ต่ำกว่า 24 ปีมีสัดส่วน 66% นับถือศาสนาอิสลามสุหนี่

3,ขนาดพื้นที่ : เล็กมาก

ฉนวนกาซาอาณาเขตทิศใต้ติดกับประเทศอียิปต์ชายแดนยาว 12 กม. ตะวันตกติดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ยาว 41 กม. ทิศเหนือติดอิสราเอล ยาว 10 กม. และทิศตะวันออกติดอิสราเอล มีขนาดพื้นที่ทั้งหมด 365 ตรกม. (ประเทศไทยไม่มีจังหวัดไหนที่มีพื้นที่ขนาดเล็กเท่านี้) ฉนวนกาซาแบ่งออกเป็น 5 เขตคือ เขต Rafah อยู่ทางใต้ชายแดนดินกับอียิปต์ เขต Kahn Younis เขต Deir el-Balah เขตเมือง Gaza City และเขตกาซาเหนือ (North Gaza)

4. ด่านเข้าออกกาซากับอิสราเอลและอียิปต์ : ไม่มีอิสระ

ฉนวนกาซามีทางเข้าออก ต้องผ่านด่าน 6 ด่านกับอิสาราเอล และ 1 ด่านกับอียิปต์ สำหรับด่านกับอิสราเอลคือ ด่าน Brit Hanoon ของฉยวนกาซาติดกับชุมชน Erez ของอิสราเอล (อิสราเอลเรียกชุมชนว่า kibbutz) ห่างจากกาซา 1 กม. ด่านนี้ใช้สำหรับให้คนเข้าออกและสินค้า ด่าน Karem Abu Salem ในชุมชน Kerem Shalom ของอิสราเอลติดกับเมือง Rafah ใช้สำหรับขนอาหารและสินค้าจากอียิปต์ แต่ต้องผ่านการตรวจที่ด่านนี้ก่อน

นอกนั้นเป็นด่านอิสราเอลที่ปิดตัวไป ได้แก่ ด่าน Ash Shuja’iah (Nahal Oz) สำหรับขนส่งน้ำมันผ่านทางท่อ ปิดเมื่อ 2010 ด่าน Al Montar (Karni) ปิดเมื่อ 2007 และด่าน the Sufa ปิดเมื่อ 2008 และด่าน Rafah ของกาซาที่ติดกับอียิปต์ใช้สำหรับขนสินค้า สรุปปัจจุบันด่านที่ใช้ในฉนวนกาซา เหลือ 3 ด่านเท่านั้น คือ อิสราเอล 2 และ อียิปต์ 1 แต่ละเดือนอิสราเอลให้คนปาเลสไตน์ในกาซากำหนด 5 พันคนต่อเดือน

5.น้ำดื่ม : ที่ดื่มไม่ได้

ร้อยละ 97% เป็นน้ำไม่สะอาด รสชาติเค็ม เพราะท่อน้ำดื่ม และเครื่องทำน้ำดื่มถูกทำลายจากการสู้รบ และระบบการจ่ายนำก็อยู่ภายในการควบคุมของอิสราเอล ในฉนวนกาซาจะมีคุณภาพน้ำต่ำกว่าใน West Bank ในขณะที่ไฟฟ้าที่ใช้มาจากอิสราเอลให้ใช้วันละ 12-18 ชม.

6. คุกกลางแจ้ง : ใหญ่สุดในโลก

คนในฉนวนกาซา อยู่ภายใต้กำแพงยาว 60 กม. มาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2007 (16 ปี แล้ว) กำแพงนี้สูง 6 เมตร มีพื้นที่ Buffer Zone ยาวจากกำแพงออกไป 100-300 เมตร ในขณะที่ด้านทะเลเมดิเตอร์เรเนียนก็เป็นกองทัพเรือของอิสราเอลตรวจการ กำหนดเป็นพื้นที่ทำให้ชาวปาเลสไตน์ทำการประมงในพื้นที่กำหนด ในขณะที่ชายแดนด้านอียิปต์ก็มีกำแพงกั้น เช่นกัน

7.อยู่ได้จากการช่วยเหลือต่างประเทศ 

UN เป็นผู้รับผิดชอบหลักในหลายเรื่องทั้ง อาหาร โรงเรียน และเงินช่วยเหลือ นอกนั้นมาจาก สหรัฐฯ เยอรมัน ฝรั่งเศส อังกฤษ เป็นต้น

รศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช

 

 

 

 

 

You May Also Like

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *