มจพ.ส่งมอบ”ยานใต้น้ำไร้คนขับ”ให้ กฟผ.

คณะวิศวกรรม มจพ. ส่งมอบ“ยานใต้น้ำไร้คนขับ”ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ  นำไปตรวจสอบแผงไฟฟ้าลอยน้ำ เผยตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมป้องกันอันตรายระหว่างปฏิบัติหน้าที่ใต้ทะเลลึก ใต้น้ำลึกแทนมนุษย์ได้ดี หลังทีมงานวิจัยลุยทดสอบยานดังกล่าว ณ เขื่อนสิรินธร และเขื่อนศรีนครินทร์

เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2566 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ(มจพ.) จัดพิธีส่งมอบ “ยานใต้น้ำไร้คนขับ “ เพื่อตรวจสอบแผงผลิตไฟฟ้าลอยน้ำให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ที่มีศ.ดร.สมฤกษ์ จันทรอัมพร รองอธิการบดี เป็นประธาน โดยมี จิราพร ศิริคำ รองผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิต เป็นผู้รับมอบ ณ ห้องประชุมวิจิตรวาที มจพ.

“ยานใต้น้ำไร้คนขับ “ซึ่งเป็นทุนวิจัยและพัฒนานวัตกรรมที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ว่าจ้างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ดำเนินงานโดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.รามิล เกศวรกุล อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมการผลิตและหุ่นยนต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการ โดยมีงบประมาณ 9,987,951.18 บาท

“ยานใต้น้ำไร้คนขับ “ซึ่งเป็นทุนวิจัยและพัฒนานวัตกรรมที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ว่าจ้างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ดำเนินงานโดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.รามิล เกศวรกุล อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมการผลิตและหุ่นยนต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการ โดยมีงบประมาณ 9,987,951.18 บาท

จากการออกแบบและสร้างยานใต้น้ำที่สามารถตรวจสอบสภาพทุ่นลอยน้ำ และทุ่นใต้น้ำของแผงผลิตไฟฟ้าได้ อีกทั้งยังมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการประมวลผลภาพประเภทตัวกรองสัญญาณ เพื่อใช้ในการตรวจสอบ และประเมินความเสียหายเบื้องต้นได้จากผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการวางชุดขับดันแบบตัดขวางทแยงมุมกันสามารถทำให้ยานเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ

อีกทั้งยานใต้น้ำไร้คนขับสามารถสำรวจในน้ำที่มีความลึกไม่น้อยกว่า 25 เมตร ระยะทางในการสำรวจสูงสุดแบบมีสายสัญญาณที่ 250 เมตร และระยะทางในการสำรวจสูงสุดแบบไร้สายสัญญาณที่ 500 เมตร ยานใต้น้ำไร้คนขับ ติดตั้งระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก และระบบตรวจจับระยะด้วยเสียงรอบทิศทางแบบเชิงกลสามารถทำการขับเคลื่อนระยะไกล และถ่ายทอดภาพขณะปฏิบัติงานใต้น้ำแบบใช้สายสัญญาณได้โดยมีระบบไฟส่องสว่างใต้น้ำ พร้อมทั้งทดสอบระบบการทำงานแบบไร้สายสัญญาณใต้ของยานใต้น้ำ

“ยานใต้น้ำไร้คนขับยานใต้น้ำไร้คนขับนำไปปฏิบัติงานที่โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบทุ่นลอยน้ำ ณ เขื่อนสิรินธร และตรวจสอบสภาพแวดล้อมภายในเขื่อนศรีนครินทร์ ซึ่งตอบโจทย์ในภาคอุตสาหกรรมด้านการสำรวจ และซ่อมบำรุงใต้น้ำ จนถึงใต้ทะเล เพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดจากการปฏิบัติงานด้วยมนุษย์ “

คณะทีมงานวิจัยประกอบด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เจนจิรา  สุขมณี มจพ. นาวาโทศราวุธ ศรีนาแก้ว สังกัดโรงเรียนนายเรือ

ผลงานวิจัยชิ้นนี้สามารถลดการนำเข้ายานใต้น้ำจากต่างประเทศ และสามารถพัฒนาในเชิงพาณิชย์ต่อไปได้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เจนจิรา  สุขมณี 089-767-0099

You May Also Like

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *