ฟังแล้วอึ้ง! นโยบายเศรษฐกิจ ตปท.เบาหวิว : รศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช

ปิดฉาก APEC 2022 อย่างสวยงามแล้ว เมื่อวันที่ 19 พ.ย.65 ผลจากการประชุมตลอดปีนี้ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ ประกอบด้วยปฏิญญาเขตเศรษฐกิจเอเปค ค.ศ. 2022 เป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG ถือเป็นความสำเร็จสำคัญที่ที่ประชุมสามารถออกปฏิญญาร่วมกันได้

พร้อมภาพ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้ส่งมอบ “ชะลอม” คล้องพวงมาลัย ให้กับคามาลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เพื่อส่งมอบตำแหน่งเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปคในปี 2023

แต่ทว่า หากย้อนหลังพลิกไปดูนโยบายเศรษฐกิจต่างประเทศของประเทศไทย ภายใต้นโยบายรัฐบาล “พล.อ.ประยุทธ์ “ ให้ความสำคัญโดดเด่นไม่ต่างจากไทยเป็นเจ้าภาพ APEC 2022 หรือไม่

รศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โฟน์อินรายการวิทยุกระจายเสียง อ.ส.ม.ท.เอฟเอ็ม 100.5 เมกะเฮิร์ตช์ หัวข้อเรื่อง“ ปรับทิศทางนโยบายเศรษฐกิจต่างประเทศไทย “ เมื่อวันที่ 25 พ.ย.65 ว่า ประเมินว่าทุกภาคส่วนให้ความสนใจเศรษฐกิจต่างประเทศน้อยมาก จากการที่ตนเปิดอ่านแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ฉบับที่ 13)ฉบับล่าสุดที่มีเนื้อหาจำนวนมากบัญญัติเป็นเล่มอย่างละเอียด แต่นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศบรรจุไว้สั้นหรือน้อยเกินไป

ทั้งนี้ หากการบรรจุแผนนโยบายแผนเศรษฐกิจน้อยจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจชีวิตปากท้องคนโดยรวมประชนชนทั้งประเทศ เนื่องจากไทยเป็นประเทศเปิด สัดส่วนเศรษฐกิจ ตปท. 15% ต่อ 85% ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 13 และในสัดส่วน 15% นั้นยังระบุไว้กว้างๆไม่ชัดเจน เช่น กรณีจีน ซึ่งมีการพูดถึงจีนน้อยเกินไปถัดมาพูดอินเดีย สรุปคร่าวๆให้ฟัง

“สิ่งสำคัญแผนนโยบายฉบับที่ 13 ไม่ได้พูดถึงนโยบายเกี่ยวกับสหรัฐ ยุโรป ปัจจุบันยุโรปกำลังแตกแถวไปจากสหรัฐอเมริกา ยกตัวอย่าง ขณะที่บริษัท คอสโก จากประเทศจีนไปลงทุนถือหุ้นในท่าเรืออัมบูรก์ ในประเทศเยอรมนี แม้รัฐบาลเยอรมันเองไม่เห็นด้วยที่ไปคบค้าเศรษฐกิจกับประเทศจีนก็ตา

“สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า ทุกประเทศมีความชาญฉลาดปรับเปลี่ยนเรียนรู้เท่าทัน ไม่ได้หมายความว่า เราจะต้องอิงแอบอยู่กับประเทศใดประเทศหนึ่ง อยากให้มองถึงผลประโยชน์ประเทศชาติเป็นสำคัญ”

อย่างไรก็ตาม ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ระบุว่า เราเป็นศูนย์กลางผลิตรถยนต์อีวี เห็นด้วยกับเรื่องนี้ แต่บางเรื่องควรบรรจุเข้าไปด้วย เช่น ศูนย์กลางการผลิตถุงมือยาง อยากเห็นไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตถุงมือยางของโลก แต่การจะเป็นอุตสาหกรรมศูนย์กลางผลิตรถยนต์ของโลกนั้นไม่ได้คัดค้าน

“ หากแต่อยากจะบอกว่า “ไม่ง่าย “ เพราะในประเทศกลุ่มอาเซียน 3 ประเทศที่มีศักยภาพการเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ EV นั่นคือ เวียดนาม อินโดนีเซีย และไทย แต่คำตอบสุดท้ายขึ้นอยู่กับความพร้อมปัจจัยองค์ประกอบหลายๆด้านน่าจะไปอยู่ที่ประเทศอินโดฯมากกว่า”

นอกจากนี้ นโยบายเศรษฐกิจระดับโลก และระดับภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นโยบายระดับภูมิภาคเราไม่ได้พูดถึงแผนนโยบายชาติเท่าไหร่ เป็นเรื่องน่าเสียดาย เช่น เรื่องกรอบความร่วมมือไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน 10 ประเทศ (เอ็กซ์แม็กซ์) กรอบความร่วมมือทางใต้กับมาเลเซีย

ชี้ช่องปรับนโยบาย ศก.ตปท.
เรื่องเหล่านี้ไม่ได้ถูกย่อยนำมาสู่คนส่วนใหญ่ของประเทศ เช่น เกษตรกร เอสเอ็มอี อยากเสนอแนะในการเลือกตั้งครั้งหน้า พรรคการเมืองต้องนำนโยบายหาเสียงประชาชน เช่นเดียวกับ ช่วงการเลือกตั้งผู้นำในประเทศสหรัฐ ยุโรป ประเด็นเศรษฐกิจทำให้โหวดเตอร์ตัดสินใจเลือกผู้นำประธานาธิบดี หรือนายกรัฐมนตรี มองกลับมาที่บ้านเราแตกต่างกัน เหตุผลจากข้อมูลข่าวสาร

ดังนั้น การตัดสินใจจึงไม่ได้ตัดสินใจในสิ่งที่สำคัญๆ นั่นคือ จากนโยบายเศรษฐกิจต่างประเทศ ไม่เคยมีนโยบายเศรษฐกิจต่างประเทศในพรรคการเมือง ซึ่งอาจจะขายไม่ได้ของการเลือกตั้ง การหาเสียงแต่ละครั้ง

รศ.ดร.กล่าวต่ออีกว่า สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนั้นมี 2 เรื่องใหญ่คือ 1 นโยบายเศรษฐกิจสหรัฐและจีน 2 สงครามรัสเซีย-ยูเครน ไม่รู้จะจบอย่างไร คาดว่าคิดว่าจบยาก สิ่งที่ไทยรับผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน อาทิ ปุ๋ย ถ่านหิน น้ำมัน ส่วนเรื่องที่ 1 สหรัฐที่เข้ามามีบทบาทอินโดแปซิฟิคเป็นเรื่องประชาธิปไตย ตามนโยบายผู้นำประธานาธิบดี โจ ไบเดน ภายใต้ยุทธศาสตร์”อินโดแปซิฟิค พาร์ทเนอร์ซิฟ”

ขณะเดียวกัน สหรัฐยังให้ความสำคัญเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้อีกด้วย ประเทศไทยจะวางนโยบายเศรษฐกิจอย่างไรโดยไม่ต้องกังวล และยังอยู่บนผลประโยชน์ประเทศชาติเป็นสำคัญ กรณีเซมิคอนดักเตอร์ ไทยเองต้องพึงพิง “ชิป”ตัวนี้ในหลากหลายอุตสาหกรรม ทั้งส่วนที่ไทยผลิตเองได้ และนำเข้า ส่วนที่ต้องนำเข้าชิป เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ ประมาณ 70% – 80 %

กรณีเซมิคอนดักเตอร์ บริษัทใหญ่ของสหรัฐ บริษัทไมครอน ไปตั้งฐานการผลิตในสิงคโปร์ เป็นเรื่องน่าเสียดาย หากทำได้น่าจะมาตั้งฐานการผลิตในประเทศไทย ฉะนั้น บทบาทประเทศไทย หากวางตำแหน่งไม่ดีเราจะสูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจอีกมากมาย ที่ผ่านมา บทบาทไทยอ่อนลงไปเรื่อยๆในเวทีระดับโลก บางคนอาจมองว่า “ไทยหายไปจากจอเรดาร์ ” ขณะที่มาเลเซีย สิงคโปร์ กลับมีบทบาทโดดเด่นในขณะนี้

บทบาทไทยอ่อนลงไปเห็นได้ชัดเจน นั่นคือกรณีรถไฟลาว -จีน นี่คือ โอกาสประเทศไทยที่สูญเสียไปอย่างมหาศาล อนาคตหากสหรัฐและจีนจะทำอันนี้ ไทยต้องเรียนรู้ยุทธศาสตร์ปรับทิศปรับทางนโยบายทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศให้ล้อและสอดคล้อง เพื่อป้องกันช่วยเหลือลดผลกระทบหรือโอกาสทางเศรษฐกิจให้น้อยที่สุด

You May Also Like